
Thai Montessori At Home
อุปกรณ์มอนเตสซอรี่
เราอาจจะคุ้นชินกับการเรียนการสอนแบบท่องจำและทำตามคำสั่ง อยู่ในกรอบของผู้คุมกฎ แม้แต่จะลุกเดิน หยอกล้อ หัวเราะกันอันเป็นธรรมชาติของเด็ก ๆ ก็กลับถูกให้สำรวมนั่งบนเก้าอี้ ตามองกระดานดำ นั่งฟังข้อมูลที่ถูกป้อนเข้ามาโดยมิได้มีโอกาสคัดค้านหรือวิเคราะห์เอง เมื่อเป็นเช่นนั้นจนกลายเป็นพฤติกรรม เด็กก็จะไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าเป็นตัวของตัวเอง และไม่มีความสามารถในทางสร้างสรรค์ วิเคราะห์ปัญหาในหลาย ๆ มิติไม่ได้ ในแนวทางมอนเตสซอรี่นั้นกลับไม่เป็นเช่นนั้น ผู้ปกครองจึงต้องปรับทัศนคติตนเอง ที่จริงแล้วการเรียนรู้แนวทางมอนเตสซอรี่นั้นควรเริ่มจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เมื่อตั้งทัศนคติที่ถูกต้องแล้วจึงจะส่งเสริมสนับสนุนศักยภาพของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุปกรณ์มอนเตสซอรี่ถูกออกแบบโดย ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ทางเพจคงไม่กล่าวถึงประวัติท่านมากนักเพราะคงหาอ่านได้จากหลายที่แล้ว แต่อยากให้ผู้สนใจเห็นภาพรวมของอุปกรณ์ เพราะจากที่เปิดแฟนเพจมาก็มักพบว่าพ่อแม่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เริ่มจากอุปกรณ์อะไรไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอุปกรณ์แต่ละอย่างมีจุดประสงค์อะไร มันหน้าตาคล้ายของเล่นที่เห็นตามห้าง มันจะต่างอะไรกัน ก็อยากจะบอกว่าเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้วไม่มีของเล่นมากมายเหมือนสมัยนี้ ดร.มาเรีย ผู้คลุกคลีอยู่กับเด็กและสังเกตพฤติกรรมที่เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น นั่นคือธรรมชาติของเด็กเธอจึงออกแบบสื่อการเรียนที่ให้เด็กได้เล่นไปพร้อมกับเรียนรู้ไปในตัวอย่างแยบยล เมื่ออุตสาหกรรมมีความเจริญก้าวหน้าก็นำแนวคิดอุปกรณ์มอนเตสซอรี่มาพัฒนาต่อยอด ใส่สีสัน ทำวางขายกันอย่างกว้างขวาง เราจึงมักจะสับสนว่าอุปกรณ์มอนเตสซอรี่คือของเล่น และไม่รู้ว่าผู้ปกครองมีบทบาทอะไรกับสิ่งที่ลูกเล่นเพราะไม่มีคู่มือสอน เพจนี้จึงพยายามที่จะรวบรวมเผยแพร่แนวคิดและการใช้อุปกรณ์ให้ผู้สนใจสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสอนลูกเองที่บ้านได้
หมวดประสาทสัมผัส
หลัก ๆ แล้วเรามักจะใช้อุปกรณ์หมวดนี้สำหรับเด็กเล็กเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อและฝึกทักษะประสาทสัมผัสอันจำเป็นต่อการพัฒนาสมองของเด็ก อุปกรณ์หมวดนี้ที่นิยมได้แก่
-
หอคอยสีชมพู (Pink Tower)
-
บันไดสีน้ำตาล (Brown Stairs)
-
กล่องสี 3 กล่อง (Color Box I-III)
-
ทรงกระบอกมีจุก (Cylinder block)
-
ทรงกระบอกไร้จุก (Knobless Cylinders)
-
ลูกบาศก์ 2 ตัวแปร (Binomail Cube)
-
สามเหลี่ยมสร้างสรรค์ (Constructive Triangles)
-
แขนงไม้สีแดง (Red Rods)
-
กล่องเทียบเสียง (Sound Cylinders)
-
ขวดดมกลิ่น (Smelling Jars)
-
ถุงลึกลับ (Mystery Bag)
-
และยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ในหมวดนี้อีกมากมายไว้ติดตามใน Blog นะคะ



หมวดประสบการณ์ชีวิต
หมวดนี้เราสามารถจัดหาของใช้ในบ้าน หรืออุปกรณ์ทำสวน ทำอาหาร ทำงานไม้ ทำความสะอาดบ้าน ล้างจาน อุปกรณ์แต่งตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ในชีวิตจริงที่จะส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการใช้ชีวิต และเขาจะเรียนรู้ศักยภาพและความสนใจของตัวเองผ่านประสบการณ์จริงด้วยค่ะ อุปกรณ์จึงไม่มีอะไรพิเศษมาก หาได้ในบ้าน เราจึงขอเสนอเป็นกิจกรรมให้เห็นและแต่ละบ้านก็ลองหาอุปกรณ์ในบ้านกันดูนะคะ
-
การเทของแห้ง
-
การเทของเปียก
-
การเตรียมอาหาร
-
การตัดกระดาษ
-
การทำฟองสบู่
-
การพับ
-
การแต่งตัว
-
การตัก
-
การปลูกต้นไม้
-
การทำความสะอาด/การเช็ดกระจก
หมวดคณิตศาสตร์
เมื่อเด็กฝึกกล้ามเนื้อจากอุปกรณ์หมวดประสาทสัมผัสจนมีความพร้อมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์แล้ว ซึ่งจะแตกต่างจากการเรียนที่เรามักพบเห็นที่เป็นแบบนามธรรมจับต้องไม่ได้ อุปกรณ์หมวดนี้เด็กจะเรียนรู้จากประสาทสัมผัส จากรูปธรรมจับต้องได้ สู่ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์อย่างมีมิติ
-
แท่งไม้จำนวน (Number Rods)
-
ตัวเลขกระดาษทราย (Sandpaper Numbers)
-
การนับตะเกียบ (Spindle Box)
-
กระดานบวก (Addition Strip Board)
-
กระดานลบ (Subtraction Strip Board)
-
หุ่นไม้แบ่งส่วน (Fractions)
-
กระดานหลักสิบ (Teen Board)
-
อื่น ๆ ติดตามใน Blog ค่ะ
หมวดภาษา
การเรียนรู้หมวดนี้ก็ยังคงใช้แนวทางจากรูปธรรมสู่นามธรรม
ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อการเรียนรู้เช่นเคยค่ะ
-
แผ่นโลหะลีลามือ
-
ตัวอักษรกระดาษทราย
-
การผสมคำ
-
ตัวอักษรเคลื่อนที่
-
บัตรคำต่าง ๆ
-
บัตรภาพต่าง ๆ

หมวดวิทยาศาสตร์/ภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
หมวดนี้เด็กจะเรียนรู้ส่วนประกอบทางกายภาพ ชีวภาพของสิ่งมีชีวิต เรียนรู้แผนที่ ระบบสุริยะจักรวาล อุปกรณ์หมวดนี้ได้แก่
-
ลูกโลกกระดาษทราย
-
ลูกโลกสี
-
แผ่นไม้แสดงการโคจรของดวงดาว
-
ภาพต่อส่วนประกอบของพืช
-
ภาพต่อส่วนประกอบของสัตว์
-
ธงชาติต่าง ๆ
-
แผนที่โลก
-
อื่น ๆ
